กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>ไอทีในชีวิตประจำวัน #458 ขอบเขตของดาต้าเซ็นเตอร์</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>ไอทีในชีวิตประจำวัน #458 ขอบเขตของดาต้าเซ็นเตอร์ ()<br /> ทุกสรรพสิ่งย่อมมีข้อจำกัด แต่มนุษย์พยายามฝ่ากำแพงข้อจำกัดมากมายด้วยความสามารถ และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ความเร็วในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เร็วระดับไบท์ แล้วเพิ่มเป็นกิโลไบท์ เม็กกะไบท์ จนถึงกิกะไบท์ จากที่เชื่อมต่อด้วยสายทองแดง ก็เปลี่ยนมาเป็นสายไฟเบอร์ออพติก มาเป็นแบบไร้สายผ่านคลื่นวิทยุบนความเร็วสูงแล้วก็สูงอีก จำนวนเบอร์เครื่องที่เรียกว่า IP Address ก็เปลี่ยนจากมาตรฐาน IP4 เป็น IP6 เพื่อรองรับจำนวนอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น<br /> ในเรื่องของความเร็ว หน่วยหนึ่งที่ได้รับความสนใจในการพัฒนาคือศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพราะนอกจากจะต้องมีความเสถียรเป็นเลิศแล้ว ความเร็วก็ต้องไม่เป็นรองใคร นักพัฒนาแต่ละประเทศพยายามพัฒนาเครื่องบริการ (Server) ที่ใช้เวลาตอบสนอง (Response) น้อยที่สุด ระบบเครือข่ายของศูนย์ข้อมูลก็เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป โดยพิจารณาจากจำนวนเครื่องที่รองรับได้ในแต่ละช่วงเวลา และเวลาตอบสนองที่สั้น เพื่อลดเวลารอคอยของผู้ใช้แต่ละคน เพราะมีคำร้องขอจากเครื่องของผู้ใช้ไปยังเครื่องบริการที่เคยเข้าไปพร้อมกันนับ 10 แล้วได้ขยายเพิ่มเป็นนับร้อยถึงนับล้าน ผู้คนหลายพันล้านคนบนโลกอาจสนใจข้อมูลที่ถูกแบ่งปัน นี่คือความท้าทายของศูนย์ข้อมูลที่ต้องพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้รองรับความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์<br /> แม้จะมีความเชื่อว่ามนุษย์สามารถพัฒนาเครื่องบริการให้สามารถรองรับความต้องการที่ไม่จำกัดได้ ในความเป็นจริงเรารู้ว่าข้อจำกัดนั้นมีอยู่จริง แต่ที่ปัจจุบันเรายังสามารถหลีกเลี่ยงข้อจำกัดได้ก็ด้วยเทคนิควิธีที่เรียกว่านวัตกรรมทางซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ทำให้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดยังมาไม่ถึง หรือเลื่อนออกไป เพราะมีคนเพียงไม่กี่คนที่คิดเทคโนโลยีขึ้นมา แล้วคนอีกนับพันล้านก็ได้ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ในวันนี้เราอาจยังไม่รับรู้ถึงข้อจำกัดที่ยังมาไม่ถึง แต่สักวันในอนาคตอันใกล้ก็จะต้องพบว่าเราได้มาถึงข้อจำกัดทั้งเรื่องความเร็ว และขนาดข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตราบเท่าที่เรายังอยู่ในโลกของการรวมศูนย์ข้อมูลที่ทุกอย่างไปกองรวมอยู่ในที่เดียวกัน<br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='118.172.103.127'>.</a><br> 10:52am (19/07/14)</font></td></tr></table></center>